Startup Thailand
TH / EN
Kollective
แพลตฟอร์ม Influencer Marketing ครบจบทุกขั้นตอน
วราพล โล่วรรธนะมาศ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท คอลเลคทีฟ วัน จำกัด
Kollective คือผู้เชี่ยวชาญด้าน Influencer Marketing ที่พร้อมช่วยแบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยอินฟลูเอนเซอร์และนักรีวิวคุณภาพผ่านการใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ บริการวางแผนและจัดการ Influencer Marketing แบบครบวงจรเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาอันสั้น ไม่ได้สำเร็จในทันทีที่ก่อตั้ง แต่เพราะมี วราพล โล่วรรธนะมาศ ซีอีโอและหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง รวมถึงทีมงานที่ค่อยๆ ร่วมกันวางแผนแก้ปัญหาและนำมาสู่การเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ร่วมกันคิด ร่วมกันดูแลตั้งแต่การวางแผน วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย พร้อมด้วยทีมงานมืออาชีพช่วยสร้างสรรค์คอนเทนต์แปลกใหม่ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย พร้อมดูแลการทำการตลาดในสื่อโซเชียลมีเดียให้เหมาะกับแบรนด์ ประสานกับการใช้เครื่องมือทางการตลาดทุกรูปแบบเพื่อสร้างสรรค์แคมเปญที่จะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการในราคาที่คุ้มค่าที่สุด
“เราเชื่อว่าถ้าเป็นบริษัทการตลาด ถ้าเราอยากจะโต เราก็ต้องทำให้ลูกค้าโตก่อน สิ่งที่เราต้องไปวัดคือ Key Performance Indicator ของลูกค้าที่เป็นยอด Average Engagement ว่าเป็นยังไง ดังนั้น พอเราวัดผลลัพธ์ก็มองเห็นว่าผลลัพธ์ดีขึ้นกว่าการเป็นแค่ทำหน้าที่ Match Influencer ตอนนี้เราตั้ง KPI เลยว่าแต่ละแบรนด์ต้องเกิด Engagement เพิ่มเท่าไรในปีนี้ แต่ละปีเราจะช่วยลูกค้ายังไงให้เติบโตถึงเป้าหมาย เพราะถ้าลูกค้าถึงเป้าหมายเราก็ถึงเป้าหมายของบริษัทเราด้วย”
เริ่มต้นที่โอกาส เติบโตด้วยการแก้ปัญหา
โอกาสอาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราทุกคนได้รับ แต่สำหรับบางคน โอกาสไม่ได้มาถึง แต่คือการมองเห็น คือการสร้างทั้งหมดขึ้นมาด้วยตนเอง และที่สำคัญกว่านั้นคือการรักษาโอกาสไม่ให้หลุดลอยหายไป แต่ต่อยอดให้โอกาสขยายและเติบโตขึ้นไปเป็นความสำเร็จ
“เมื่อประมาณสองถึงสามปีที่แล้ว ตลาด Influencer ไทยเติบโตค่อนข้างเร็ว ผมเห็นเทรนด์การเติบโตตรงก็เลยมาคิดว่าตลาดที่กำลังโตนั้น เรามี Potential ในตลาดไหนบ้าง พบว่า Influencer ที่เป็น Young Generation เป็นตลาดที่เราเข้าใจตลาดมากกว่าที่อื่น ก็เลยฟอร์มทีมตั้งบริษัทขึ้นมา แต่ปัจจัยที่ทำให้บริษัทเติบโตคือ หลังจากก่อตั้งได้ประมาณหนึ่งปีผลลัพธ์ต่างๆ เริ่มดรอปลง ลูกค้าเราไม่ค่อยเชื่อว่าอินฟลูเอนเซอร์ทำแล้วเวิร์ค ตั้งคำถามว่า ทำไปแล้วไม่เกิดยอดขาย เราก็เลยมาคุยกันในผู้ร่วมก่อตั้งว่าทำยังไงดีในตลาดนี้ที่เคยเห็นโอกาสมาก่อน ก็ไปดูว่า Painpoint ของการเป็นอินฟลูเอนเซอร์เป็นอย่างไร การที่แบรนด์แต่ละแบรนด์ทำแล้วมันไม่เวิร์คเป็นเพราะอะไร ช่วงนั้นไม่ได้หาลูกค้าเลย เน้นการพูดคุยกับลูกค้า เริ่มหาฟอกรุ๊ปใหม่ หลังจากนั้นก็ค่อยๆ เติบโตมาถึงทุกวันนี้ได้จากการแก้ปัญหาลูกค้า”
อธิบายให้เห็นภาพชัดก็คือ ช่วงแรกบริษัทเราเป็นแค่ Influencer Matching Platform Value คือทำหน้าที่จับแบรนด์กับ Influencer ให้เจอกัน ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว เราเรียกตัวเองว่าเป็น Influencer Marketing Optimizer ก็คือ Optimize ผลลัพธ์ทางการตลาดให้คุ้มค่ามากที่สุด เราต้องรู้ว่าผลลัพธ์หลังจากที่แบรนด์ใช้อินฟลูเอนเซอร์จะเป็นยังไง เกิดยอดขายมั้ย ทำแคมเปญการตลาดออนไลน์ไประยะหนึ่งก็จะมีการวิเคราะห์ด้วยว่าผลลัพธ์ดีไหม ถ้าดีแล้วควรจะทำแคมเปญยังไงต่อไป ถ้าผลลัพธ์ไม่ดี ก็ต้องหาวิธีแก้ปัญหาที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น”
แรงที่ขับเคลื่อนคือแรงใจจากภายในตัวเราเอง
Passion ของคนหนึ่งคนอาจจะเพียงพอที่จะสร้างสรรค์สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา แต่ Passion นั้นจะยังคงโลดแล่นและดำรงอยู่ก็เพราะมีใครบางคนเชื่อมั่นและมองเห็นคุณค่า กล้าฝากชีวิตไว้กับเรา เมื่อนั้นเราจะไม่ปล่อยให้ Passion หมดไปอย่างง่ายดาย
“ความท้าทายช่วงแรกเพื่อทำให้ธุรกิจเป็นธุรกิจได้ ผมคิดว่าแรงผลักดันคงจะต้องมาจากตัวเราเองที่รู้สึกอยากจะพิสูจน์ว่าเราสามารถปั้นธุรกิจให้เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่เติบโตต่อไปได้จริง ส่วนต่อมาพอบริษัทเริ่มคงที่ เติบโตขึ้นแล้ว ผมคิดว่า Passion ต้องมาจากทั้งทีมด้วย เพราะผมรู้สึกว่าการที่คนในองค์กรกล้าที่จะตัดสินใจมาร่วมงานกับสตาร์ทอัพระดับเล็กอย่างเรา การที่เขาเข้ามาอยู่ในบริษัทเรา แปลว่าเขากล้าให้ความเชื่อมั่นกับเรา เราก็ต้องทำตัวให้สมกับที่เขาเชื่อมั่น เราต้องเก่งขึ้น ต้องบริหารงานดีขึ้น ต้องทำงานเป็นระบบมากขึ้น อย่างน้อยก็เพื่อตอบรับต่อความต้องการ ความไว้ใจที่พนักงานมีให้กับองค์กรครับ”
เป้าหมายจะใกล้หรือไกล…แต่ต้องก้าวไป
จากจุดเริ่มต้น Kollective นับว่าเดินมาไกลพอสมควร แต่เมื่อมองไปข้างหน้า เส้นทางสายนี้ก็ยังทอดยาวไกลไม่น้อยไปกว่ากัน ก้าวแต่ละก้าวจึงสำคัญ แม้อาจจะยังมองไม่เห็นเป้าหมายในวันนี้ แต่เพราะเรารู้ว่าวันหนึ่งเราจะไปถึง เราจึงต้องเดินต่อไป
“โดยส่วนใหญ่ถ้าเป็นสตาร์ทอัพมักมองว่า การมีลูกค้านับเป็นการเติบโตก้าวแรก ส่วนก้าวที่สองคือการที่บริษัทมี Business Plan ทำให้สามารถระดมทุนเข้ามาให้ธุรกิจได้ และก้าวที่สามคือการมีภาพเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่ง Business Model ของเราอย่างเรื่องลูกค้า ก็ถือว่าตอบโจทย์ ในเรื่อง Business Plan เราก็มีการระดม มีหน่วยงานมาซัพพอร์ตทำให้ธุรกิจสามารถเป็นจริงได้ ตอนนี้เราอยู่ในช่วงที่มาช่วยกันวางแผน เพื่อที่จะได้มองเห็นภาพแล้วว่าเราอยากจะไปตรงไหน ก็เหลือแค่ว่าเป้าหมายแต่ละปีที่เราค่อยๆ ก้าวไปทีละขั้น อยู่ที่ว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายของเราหรือเปล่า ในอนาคตเราก็อยากเป็น Eco-marketing ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าพูดถึง Milestone ขนาดนั้น ถ้าเต็มสิบเราก็คงได้แค่หนึ่ง สอง เท่านั้นเองครับ แต่ถ้ามองย้อนกลับไปตั้งแต่เราตั้งบริษัทตอนที่ยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย เราเคยอยู่จุดต่ำสุดที่ลูกค้าเริ่มบ่น ลูกค้าเริ่มลดลง จากการที่เราเปลี่ยน Business Model และดำเนินธุรกิจมาจนถึงตรงนี้ได้ ต้องถือว่าเรามาได้ไกลเหมือนกัน แต่หนทางข้างหน้าก็ยังอีกยาวไกลเช่นกัน”
เหนื่อยกับปัจจุบันไม่เป็นไรถ้ายังมองเห็นอนาคต
One Man Show ไม่ยิ่งใหญ่และไม่ได้ทำให้ธุรกิจไปไกลเท่ากับการมี Teamwork ที่คอยขับเคลื่อนเตือนใจและเติมพลัง เมื่อใดที่เกิดปัญหา ต่อให้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในวันนี้ แต่การ “สื่อสาร” ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอก็ย่อมทำให้มีหนทางไปสู่ทางออก
“คนทำสตาร์ทอัพช่วงแรกๆ ที่ทำธุรกิจก็จะรู้สึกว่าทำไมยากจัง ทำไมปัญหาเยอะจัง สุดท้ายคนที่เติมไฟก็คือกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้งครับ มีปัญหาอะไรก็ต้องคุยกันว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหนแล้ว เรายังไปต่อกันไหม พยายามมาพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาบ่อยๆ ว่าทิศทางในอนาคตเป็นยังไง เมื่อตอนใดก็ตามที่เหนื่อย ไม่อยากทำต่อ คีย์เวิร์ดสำคัญคือเหนื่อยกับปัจจุบัน และไม่เห็นอนาคต ต้องมาคุยกันแล้วว่าเหนื่อยกับปัจจุบัน เหนื่อยถูกจุดมั้ย ต้องพยายามหาวิธีปรับการทำงานให้ดีขึ้น ปรับโครงสร้างองค์กรให้ดีขึ้น เรื่องของการมองไม่เห็นอนาคต ก็ต้องมาคุยกันให้เคลียร์ว่าภาพของอนาคตที่แต่ละคนเห็นเป็นยังไง ถ้าภาพไม่ชัดเจน เราก็ต้องคุยกันและนำไปสู่ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ความรู้สึกเหนื่อยกับปัจจุบันและการมองไม่เห็นอนาคตจะหายไปครับ”
รายละเอียดเพิ่มเติม
Kollective Website
Facebook Kollective
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Startup Thailand Marketplace ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
วราพล โล่วรรธนะมาศ
ซีอีโอและหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท คอลเลคทีฟ วัน จำกัด
พลิกเกมปรับกลยุทธ์อย่างไรจึงทำให้สตาร์ทอัพอย่าง Kollective ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Influencer Marketing กลับมาเติบโตและประสบความสำเร็จอีกครั้งหลังจากขวบปีแรกที่ดูเหมือนว่าบริษัทจะไปผิดทาง แต่ปัจจุบันนี้ Kollective คือบริษัทที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าให้ดูแลการทำการตลาดในสื่อโซเชียลมีเดีย โดยประสานกับการใช้เครื่องมือทางการตลาดทุกรูปแบบ สร้างสรรค์แคมเปญที่สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างน่าสนใจ