Startup-Journey-Priceza-353x199-1

Startup Journey : Priceza

Startup Journey : Priceza

สมัยนี้จะชอปแต่ละที ไม่ต้องเสียเวลามาเดินเลือกในร้านต่าง ๆ ให้เสียเวลาแล้วว่าอันไหนถูกกว่า อันไหนคุ้มกว่า นักชอปไทยแลนด์ 4.0 แค่คลิกเดียวก็สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าได้แล้ว เพราะนวัตกรรมดี ๆ จากสตาร์ทอัพสัญชาติไทยอย่าง Priceza เครื่องมือค้นหาและ เปรียบเทียบราคาสินค้าอันดับ 1 ในประเทศไทย และตอนนี้ขยายธุรกิจครอบคลุม 6 ประเทศทั่วอาเซียน ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนามแล้ว แต่ใครจะรู้ว่าจากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของคนสายวิศวกร จะกลายมาเป็น Startup รายใหญ่ที่ช่วยแก้ ปัญหาระดับโลก ซึ่งจุดเริ่มต้นนี้ต้องย้อนไปกว่า 10 ปีที่คุณไว ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา CEO และ Co-founder ของ Priceza มีงานอดิเรกคือ เดินดูสินค้าในห้าง IT จนกลายเป็นกูรูด้านราคาสินค้า IT ไปโดยปริยาย ไม่ว่าใครที่ต้องการคอมพิวเตอร์ใหม่ก็จะเลือกมาถามคุณไว เริ่ม รู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาส่วนตัวที่ต้องรวบรวมราคาจากร้านค้าจำนวนมาก บวกกับแนวโน้มตลาดออนไลน์ที่คิดว่าจะต้องเติบโต จึงชักชวน เพื่อนอีก 2 ท่านให้มาเริ่มทำแพลตฟอร์มเปรียบเทียบราคาสินค้า ผ่านการล้มลุกคลุกคลาน เลิกรา แล้วเริ่มใหม่ จนกระทั่งวันนี้เป็นแพ ลตฟอร์มที่รวมสินค้ามากที่สุดในไทย กว่า 100 ล้านรายการ และกล้ายืดอกภูมิใจว่าเป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่นวัตกรรมสามารถเลี้ยงดูบริษัท ได้เองโดยไม่ต้องง้อเงินทุนอีกต่อไป แล้วพาไปดูออฟฟิศประจำประเทศอินโดนีเซีย ประเทศที่โลกรู้ดีว่า หากใครจะทำธุรกิจเกี่ยวกับ E- commerce ต้องห้ามพลาด จำเป็นต้องขยายไปอินโดนีเซีย ทีม Priceza มีวิธีการในการบริหารงานต่างประเทศอย่างไร พวกเขาฝ่าฟันอะไร

Startup-Journey-Computerlogy-353x199-1

Startup Journey : Computerlogy

Startup Journey : Computerlogy

ติดตามการเดินทางของสตาร์ตอัปรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการแปลงข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย จาก Facebook Twitter YouTube และ Blog ต่าง ๆ ที่เราเสียเวลากับมันไปมากมายให้เป็นมูลค่า กับสตาร์ทอัพที่มีชื่อว่า Computerlogy พวกเขาเป็นกลุ่มวิศวกรไทย ผู้พัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์โซเชียลมีเดีย (Social Enable 4.0) ให้สามารถทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแม่ทัพใหญ่สาย Developer คุณกั๊ก วัชระ เอมวัฒน์ CEO และ Co-founder ของ Computerlogy และยังควบอีกตำแหน่งนายกสมาคม Thailand Tech Startup มาร่วมแบ่งบันไอเดียการขยายไปต่างประเทศในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นก็คือการรวมกิจการเข้ากับบริษัทใหญ่ที่มีฐานอยู่ในต่างประเทศอยู่แล้ว และเหินฟ้าไปรวมกิจการที่เกาหลีใต้ เมืองที่ไม่ได้มีดีแค่ออปป้าและ K-pop แต่ผู้คนยังทันสมัยเท่าทันเทคโนโลยี เกาหลีใต้จึงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเติบโตของสตาร์ทอัพสูง และเป็นเหตุผลที่หนุ่มสายเลือดไทยที่แม้หน้าตาไม่ออปป้า เลือกที่จะร่วมงานกับบริษัทดิจิทัลยักษ์ใหญ่ของเกาหลีอย่าง YDM ที่เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Yellow Mobile Group ซึ่งเป็นดำเนินธุรกิจด้านสื่อโมบายในประเทศเกาหลีใต้ที่มีบริษัทในเครือกว่า 70 บริษัทที่เชี่ยวชาญในธุรกิจหลัก 5 หมวด ได้แก่ ชอปปิง, มีเดียและคอนเทนต์, โฆษณาและการตลาดดิจิทัล, การท่องเที่ยว, และบริการแบบ O2O  ปัจจุบัน YDM มีบริษัทพันธมิตร 22 บริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อันประกอบไปด้วย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และอื่น ๆ ที่กำลังจะตามมาหลังจากนี้ บริษัทมีพนักงานกว่า 1,700 คน และให้บริการกับลูกค้ากว่า 5,000 บริษัท Computerlogy จึงเลือกมองจุดแข็งของตัวเองและเลือกที่จะเป็น Hub ของนักพัฒนา (Developer) ที่พัฒนาเทคโนโลยีให้บริษัทในเครือ YDM ที่อยู่ในทั่วทั้งเอเชีย และร่วมกันพัฒนาสิ่งที่จะแก้ปัญหาคนระดับโลกได้ อะไรอยู่เบื้องหลังแนวคิดของการรวมบริษัท ทำอย่างไรนักพัฒนาโปรแกรมไทยจากศรีราชาจึงก้าวไปในระดับโลกได้

startup-coaching-chuay-kan-2

Startup Coaching : สตาร์ทอัพทีม Chuay kan (ช่วยกัน) ตอน 2

Startup Coaching : สตาร์ทอัพทีม Chuay kan (ช่วยกัน) ตอน 2

หลังจากที่ทีมช่วยกันได้จำลองเหตุการณ์เป็นผู้พิการก็ทำให้ทีมได้เรียนรู้ว่าการให้บริการผู้พิการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะการดูแลช่วยเหลือ ซึ่งพวกเขาก็ต้องไปหาคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และก็มาถึงภารกิจสำคัญที่จะชี้วัดทักษะของทีมว่าจะไปรอดหรือไม่ โคชจึงมอบหมายให้ทีมช่วยกันไปทำหน้าที่ให้บริการผู้พิการรับเชิญ น้องธันย์ ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ ตลอดทั้งวันถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาจะได้พิสูจน์ศักยภาพของทีมอย่างแท้จริง เหตุการณ์และความตั้งใจดีของทีมช่วยกันจะบรรลุผลอย่างไร

Startup-Journey-Jitta-353x199-1

Startup Journey : Jitta

Startup Journey : Jitta

ถ้าพูดถึงเรื่อง การลงทุน การเล่นหุ้น คนส่วนใหญ่คงจะคิดถึงตารางตัวเลข ข้อมูลหุ้นมากมาย ผู้คนเคร่งเครียดอยู่ในตลาดหุ้นทั้งวันทั้งคืน ถ้าเป็นสมัยก่อนคงเป็นแบบนั้น แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือนักลงทุนมากขึ้น ทำให้นักลงทุนสามารถหาความรู้เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเล่นหุ้นได้ง่ายขึ้น เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยง แล้วนักลงทุนจะลดความเสี่ยงได้อย่างไร Startup Journey ตอนนี้ เราจะได้รู้จัก CEO และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ JITTA.COM แพลตฟอร์มการลงทุนแบบเน้นคุณค่าชื่อดังที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนทั้งในเมืองไทยและในต่างประเทศทั่วโลก คุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO หนุ่มไฟแรงที่มีความฝันสุดท้าทายว่า “อยากทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการลงทุน การเล่นหุ้นที่ดีให้กับคนทั้งโลกใช้ด้วยฝีมือคนไทย” แต่เส้นทางธุรกิจของคุณเผ่าก็ขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนกับการเล่นหุ้นเหมือนกัน คุณเผ่าจะเจออุปสรรคอะไร และแก้ไขปัญหาในการก่อตั้ง JITTA อย่างไร อะไรคือเคล็ดลับในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศของ JITTA

startup-coaching-chuay-kan-1

Startup Coaching : สตาร์ทอัพทีม Chuay kan (ช่วยกัน) ตอน 1

Startup Coaching : สตาร์ทอัพทีม Chuay kan (ช่วยกัน) ตอน 1

ทีมช่วยกัน Startup ที่เกิดจากความต้องการอยากเห็นสังคมมีความเท่าเทียม โดยมีไอเดียตั้งต้นจากการหารถให้ผู้พิการได้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกเช่นคนปกติ และก็ถึงเวลาที่ทีมช่วยกันจะได้เจอกับโคชเป็นครั้งแรก ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ในวงการ Startup และความเข้มข้นก็ได้เกิดขึ้น เมื่อโคชต้องการคำตอบเกี่ยวกับรายได้ รวมถึงการมอบหมายภารกิจซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่โดยให้ทีมไปต้องจำลองเหตุการณ์เป็นผู้พิการ เพื่อให้เข้าใจปัญหาและอุปสรรคในการเดินทางอย่างแท้จริง

startup-journey-takemetour-2

Startup Journey : TakeMeTour ตอน 2

Startup Journey : TakeMeTour ตอน 2

Startup Journey พบกับ Startup ฝีมือคนไทยผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ takemetour.com กันต่อในตอนที่ 2  จากตอนแรก เราได้เห็นการขยายธุรกิจของ TakeMeTour ที่ขยายธุรกิจไปยังประเทศญี่ปุ่น ด้วยโมเดลธุรกิจการทำ Partnership ที่สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและต้นทุนที่ต่ำกว่า เนื่องจาก Know-How ต่าง ๆ นั้นเป็นของบริษัท Partner ต่างกับการเปิดตลาดด้วยตนเองที่จำเป็นต้องเรียนรู้และศึกษาข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลาและมีต้นทุนสูง และในตอนนี้เราจะได้เห็นการขยายธุรกิจไปยังประเทศกัมพูชาที่ TakeMeTour ได้ขยายตลาดไปต่างประเทศไปด้วยตนเอง ผ่านการสนับสนุนจาก Asian Development Bank ที่ให้การช่วยเหลือในการในการขยายตลาดสู่ประเทศกัมพูชา จากการที่ TakeMeTour ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการฯ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงผ่านการท่องเที่ยว การขยายธุรกิจด้วยตนเองของ TakeMeTour ที่ประเทศกัมพูชา

startup-coaching-gratitude-2

Startup Coaching : สตาร์ทอัพทีม Gratitude ตอน 2

Startup Coaching : สตาร์ทอัพทีม Gratitude ตอน 2

หลังจากที่ทีม Gratitude ได้ทำตามภารกิจที่โคชเจงมอบหมายให้ ก็เห็นได้ชัดว่าพวกเขามองเห็นกลุ่ม Target ของตัวเองชัดเจนยิ่งขึ้น และขั้นตอนต่อไป โคชเจงเล็งเห็นว่าทีมต้องรู้จักคู่แข่งของพวกเค้าให้มากขึ้น ซึ่งก็คือภารกิจที่ทั้งโคชและทีมต้องทำการวิเคราะห์อาหารสุขภาพที่มีอยู่ในท้องตลาดร่วมกัน และยังมีภารกิจหลักใหญ่ที่สำคัญที่ทีมจะต้องไปทดลองทำเมนูอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ที่ต้องทั้งมีประโยชน์ และที่สำคัญต้องอร่อยด้วย สถานการณ์และบทสรุปของทีม Gratitude

 
startup-journey-takemetour-1

Startup Journey : TakeMeTour ตอน 1

Startup Journey : TakeMeTour ตอน 1

พบกับสตาร์ทอัพฝีมือคนไทยผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ takemetour.com สตาร์ทอัพด้านการท่องเที่ยวของไทยที่กำลังมาแรงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ TakeMeTour เปรียบเสมือน Marketplace หรือ ตลาดกลางสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในการหา Local Expert พาเที่ยวในมุมมองใหม่ ๆ ไม่เหมือนการท่องเที่ยวแบบเดิม ๆ ที่สำคัญเราจะได้รู้ว่าการก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพพัฒนาธุรกิจอย่างไร และขยายธุรกิจในต่างประเทศหลากหลายรูปแบบ ผ่านมุมมองและประสบการณ์ตรงจาก CEO และ Co-founder นั่นก็คือคุณทาโร่และคุณนพ ทั้ง 2 คน มีวิธีคิดและลงมือสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างไร

startup-coaching-gratitude-1

Startup Coaching : สตาร์ทอัพทีม Gratitude ตอน 1

Startup Coaching : สตาร์ทอัพทีม Gratitude ตอน 1

Gratitude ทีมผสมต่างวัย ต่างประสบการณ์ กับการเจอโคชเป็นครั้งแรก หลังจาก Hackathon แม้จะเป็นบทแรกในการโคชของทีมนี้ แต่โคชเจง ก็ได้มอบหมายให้ทีมออกสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุ ถือเป็นภารกิจแรกและภารกิจหลัก ที่ทีมจะได้เจอกับข้อมูลทั้งที่เป็นประโยชน์และประหลาดใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นี่เอง จะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะพาพวกเขาสู่เส้นทางสาย Startup ที่สดใส

startup-journey-acommerce-2

Startup Journey : aCommerce ตอน 2

Startup Journey : aCommerce ตอน 2

Startup Journey พบกับบทสรุปของความสำเร็จของสตาร์ทอัพไทยที่สามารถขยายธุรกิจไปใน 4 ประเทศและภายในปีนี้จะขยายต่อไปอีก 2 ประเทศในอาเซียน จากเป้าหมายแรกที่จะพาแบรนด์ระดับโลกมาเจาะการขายออนไลน์ในอาเซียน จนถึงการยกระดับแบรนด์ท้องถิ่นไปนอกประเทศ เมื่อสตาร์ทอัพที่มีลักษณะการดำเนินงานที่ใช้ทุนมหาศาลจะขยายธุรกิจ พวกเขาจะต้องทำอย่างไร หาคำตอบโดยพาข้ามไปอินโดนีเซีย ประเทศแห่งโอกาสและความท้าทาย เพราะมีอัตราการเติบโตของธุรกิจ e-commerce อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีประชากรมากกว่า 260 ล้านคน ตามผลสำรวจของ google research พบว่าในปี 2020 อินโดนีเซียจะมีการขยายตัวของ e-commerce เป็น 52% ของอาเซียน แต่ก็มาพร้อมกับความท้าทายสำหรับธุรกิจแบบ aCommerce ที่ต้องมีบริการจัดส่งสินค้า เพราะความใหญ่ของอินโดนีเซียมาพร้อมกับเกาะจำนวนมาก พวกเขามีวิธีการรับมือกับการขยายงานในแต่ละประเทศอย่างไร ทำไมจึงต้องกล้าเปิดตลาดต่างประเทศอย่างรวดเร็วภายใน 6 เดือน เขามีวิธีการทำงานข้ามชาติอย่างไร ทำไมยิ่งขยายธุรกิจไปในต่างประเทศยิ่งเพิ่มความสมบูรณ์แบบให้กับการจัดการ แล้วพวกเขาต้องเจอกับปัญหาอะไรบ้าง พบคุณทอม ศรีวรกุล และทีม aCommerce ประเทศอินโดนีเซีย ที่จะมาจุดไฟให้ Startup ไทยรุ่นใหม่กล้าฝันและผลักดันตัวเองไปให้ไกลกว่าที่คิด