startup-coaching-hackathon-2

Startup Coaching : Hackathon ตอน 2

Startup Coaching : Hackathon ตอน 2

มาถึงครึ่งทางการการค้นหาไอเดียของสตาร์ทอัพมือใหม่ ซึ่งในตอนนี้โค้ชทั้ง 5 คน ได้ช่วยกันคัดเลือกให้เหลือ 10 ทีมที่จะผ่านเข้าไปสู้รอบสุดท้าย เมื่อเหลือ 10 ทีมภารกิจที่ต้องทำหลังจากนี้คือการสร้างเครื่องมือที่เรียกว่า “MVP” ขึ้นมา ซึ่งจะต้องทำออกมาให้ง่ายที่สุด และเร็วที่สุด เพื่อที่จะนำออกไปทดสอบใช้กับกลุ่มลูกค้าว่ามันใช่อย่างที่แต่ละทีมคิดไว้หรือเปล่า และเมื่อทำเสร็จแต่ละทีมก็ออกไปหากลุ่มลูกค้าของเขา และลองให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ แอปที่เป็นตัวต้นแบบนั้น เพื่อเอาข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนางานต่อไป

startup-journey-box24-2

Startup Journey : Box24 ตอน 2

Startup Journey : Box24 ตอน 2

การที่จะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและสามารถขยายไปยังต่างประเทศได้นั้น นอกจากจะมีความเชื่อมั่น ความตั้งใจ และโปรดักต์ที่ดีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เงินทุน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการที่จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ ในสัปดาห์นี้  รายการ Startup Journey ยังอยู่กับ คุณบอนด์ นิธิพนธ์ ไทยานุรักษ์  เราจะพาไปเจาะลึกเส้นทางธุรกิจในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ  การหาเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจ เรียนรู้วิธีการต่อยอดธุรกิจ และเคล็ดลับพิชิตใจนักลงทุนของคุณบอนด์กันว่าจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร

startup-coaching-hackathon-1

Startup Coaching : Hackathon ตอน 1

Startup Coaching : Hackathon ตอน 1

Startup Coaching เริ่มต้นจากการรับสมัครทีมที่มีไอเดียที่จะทำ Startup กว่า 50 ทีม คัดเลือกจนได้ 18 ทีมสุดท้าย โดยวันนี้มีโค้ช 5 คน จะมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยเราจะให้สตาร์ทอัพมือใหม่ที่เข้ารอบมาค้นหาไอเดียและความ น่าสนใจในการทำสตาร์ทอัพกันแบบข้ามวันข้ามคืน 24 ชั่วโมง ซึ่งทั้งหมดนี้จะใช้วิธีที่เรียกว่า Hackathon

startup-journey-box24-1

Startup Journey : Box24 ตอน 1

Startup Journey : Box24 ตอน 1

ในปัจจุบันวิถีชีวิตของคนในเมืองส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงไปมาก หลายคนต้องทำงานอย่างหนักจนไม่มีเวลาที่จะทำธุระส่วนตัวของตนเอง เช่น การเอาผ้าไปซักที่ร้านซัก อบ รีด หรือ การส่งพัสดุ และกว่าเราจะถึงที่พัก ร้านค้าต่าง ๆ คงปิดไปหมดแล้ว แต่ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้กลับเป็นโอกาสให้ คุณบอนด์ นิธิพนธ์ ไทยานุรักษ์ CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง BOX24  ที่ให้บริการ ตู้ LOCKER อัจฉริยะ ที่สามารถสร้างโปรดักต์ที่ตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาสำหรับชีวิตคนเมืองโดยเฉพาะ และยังสามารถขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย Startup Journey สัปดาห์นี้เราจะพาไปเจาะลึกเส้นทางการทำธุรกิจของคุณบอนด์ และความสามารถของตู้ LOCKER อัจฉริยะ BOX24 ว่าทำอะไรเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนเมืองได้บ้าง

startup-warrior-mycloudfulfillment

Startup Warrior : MyCloudFulfillment นิธิ สัจจทิพวรรณ

Startup Warrior : MyCloudFulfillment นิธิ สัจจทิพวรรณ

จุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจ อาจจะมีได้หลายทาง ทั้ง การเห็นโอกาส แรงบันดาลใจ แต่ Startup อย่าง MyCloudFulfillment เริ่มต้นมาจาก “คำดูถูก” เมฆ CEO MyCloudFulfillment เติบโตมากับคำดูถูก ทั้งจากครอบครัว คนรอบข้าง เพียงเพราะเป็นเด็กที่หัวไม่ดี เรียนไม่เก่ง ใช้ชีวิตไปวันๆ ติดเกม แต่คำพูดเปลี่ยนคนได้ “ เด็กคนนี้ เลี้ยงไปก็เปลืองข้าวสุก ” คำพูดเพียงประโยคเดียว ที่ทำให้เขา คิดที่จะทำอะไรเป็นของตัวเอง คิดที่จะพิสูจน์ ให้คนรอบข้างยอมรับ จนกลายมาเป็น MyCloudFulfillment ธุรกิจ Startup ที่เปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจ Warehouse แบบเดิมๆ ให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น จนทำให้เขาชนะการประกวด Startup Thailand 2017 Grand Pitching Challenge

startup-warrior-local-alike

Startup Warrior : Local Alike ไผ สมศักดิ์ บุญคำ

Startup Warrior : Local Alike ไผ สมศักดิ์ บุญคำ

ถ้าพูดถึงเรื่องการท่องเที่ยว หลายคนมักจะอยากไปเที่ยวแบบที่พักสวยหรู มีอาหารดี ๆ กิน และมีที่พักที่นอนสบาย แต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่อยากเที่ยวในแบบสโลไลฟ์ ใช้ชีวิตเรียบง่ายในแบบคนท้องถิ่น นี่เองคือที่มาของ Local Alike Startup ที่เปลี่ยนการท่องเที่ยวแบบ ธรรมดาให้กลายเป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งไผ สมศักดิ์ บุญคำ เป็นก่อตั้งขึ้น โดยทำเป็นแพลตฟอร์มเพื่อเชื่อมโยงระหว่างการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับนักท่องเที่ยวที่สนใจในเรื่องการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเข้าด้วยกัน

startup-warrior-penquint

Startup Warrior : Penquint กิตติกร กรรณเลขา

Startup Warrior : Penquint กิตติกร กรรณเลขา

Penguint Startups ด้าน TravelTech ในการจองซื้อตั๋วรายแรกของคนไทย ที่กล้าลุกขึ้นมาท้าชนกับบริษัทใหญ่ๆ ของต่างประเทศ ที่มีความพร้อมทั้งเงินทุน กำลังคน และเทคโนโลยี แต่ด้วยวิธีคิดของ Lean Startup ที่ใช้คนน้อย แต่เลือกคนที่ใช้ และสร้างบริการที่เหนือกว่าคู่แข่ง กลับทำให้ Penguint สามารถแข่งขันในธุรกิจท่องเที่ยว ด้วยกำลังคนเพียงคนไม่กี่คน โดยใช้หลักในการทำธุรกิจที่ว่า เราจะอยู่เป็นเพื่อคุณตั้งแต่วันแรกที่คุณจองตั๋วจนวันที่คุณขึ้นเครื่อง นี่เองที่ทำให้ผู้ใช้ต้องใช้ซ้ำ และบอกต่อ และเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

startup-warrior-zeekdoc

Startup Warrior : ZeekDoc วลัยพรรณ ฉันท์มิตรกุล

Startup Warrior : ZeekDoc วลัยพรรณ ฉันท์มิตรกุล

ความเจ็บป่วย กับ คุณหมอ เป็นของคู่กัน หลายครั้งเมื่อเจ็บป่วยขึ้นมา แต่ไม่รู้ว่า จะไปหาหมอที่ไหนดี เป็นคำถามที่คนใกล้ตัวมักจะถาม ฟ้า วลัยพรรณ ฉันทร์มิตรกุล ผู้ที่อยู่ในแวดวงสาธารณสุข เธอจึงทำ Startup สาย HealthTech ขึ้นมาในชื่อว่า ZeekDoc เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันที่จะช่วยให้คนไข้เจอหมอที่ใช่และเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วและง่ายที่สุด เป็น Startup เพื่อการรักษาก็จริง แต่เป้าหมายลึกๆ แล้ว คือต้องการให้คนสุขภาพดี เพื่อจะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยในอนาคต

startup-warrior-thai-live-stream

Startup Warrior : Thai Live Stream ปิยนันต์ ชวเลขยางกูร นฤมล ชวเลขยางกูร และ ณัฐพร สุชาติกุลวิทย์

Startup Warrior : Thai Live Stream ปิยนันต์ ชวเลขยางกูร นฤมล ชวเลขยางกูร และ ณัฐพร สุชาติกุลวิทย์

ทุกวันนี้เทรนด์การรับชมของคนเปลี่ยนไป จากหน้าจอทีวี สู่หน้าจอสมาร์ทโฟน เราสามารถรับชมข้อมูลต่างๆ ได้ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่ภาพนิ่ง หรือคลิปวิดีโอ เท่านั้น เทรนด์การรับชมที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ คือ การถ่ายทอดสด ผ่านระบบออนไลน์ หรือรู้จักกันในชื่อ Live จากคนที่ไม่มีความรู้ ไม่เคยทำธุรกิจด้านนี้มาก่อน แต่วันนี้ 3 พี่น้อง ปิยนันต์ ชวเลขยางกูร CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง นฤมล ชวเลขยางกูร CFO และผู้ร่วมก่อตั้ง และ ณัฐพร สุชาติกุลวิทย์ CMO และผู้ร่วมก่อตั้ง ได้ปลุกปั้น Startup สาย MediaTech ขึ้นมาในชื่อ Thai Live stream ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นผู้นำด้านการถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ได้ เพราะเชื่อว่า สิ่งใหม่เป็นเรื่องท้าทายเสมอ

startup-warrior-wongnai

Startup Warrior : Wongnai ยอด ชินสุภัคกุล

Startup Warrior : Wongnai ยอด ชินสุภัคกุล

รสชาติของ Startup อาจจะไม่ได้หอมหวาน น่าลิ้มลองอย่างที่คนภายนอกเห็น Wongnai หนึ่งใน Startup ที่มาแรงและน่าสนใจที่สุดแห่งปี แต่กว่าจะมีวันนี้ได้ Startup อย่าง Wongnai ผ่านช่วงเวลาที่แสนยากลำบาก จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2010 ที่หอบหิ้วไอเดีย และความฝัน ว่าการรีวิวอาหาร จะกลายเป็นที่นิยม ชื่นชอบ และสร้างกระแส กลายเป็นธุรกิจขึ้นมาได้ แต่ความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น กว่า 2 ปี ที่ทำขึ้นมาโดยมีผู้ใช้งานแค่หลักพัน หลักหมื่น เริ่มต้นก็เหมือนของขม แต่เมื่อกระแสของ Smart phone ได้รับความนิยมขึ้น กลับเป็นปัจจัยที่ทำให้ ธุรกิจรีวิวอาหารอย่างวงใน ได้รับความนิยมไปด้วย จากผู้ใช้เพียงไม่กี่หมื่น ขึ้นเป็นหลายสิบล้านครั้ง มีสมาชิกที่มารีวิวอาหารมากกว่า 3 ล้านคน สิ่งที่เกิดขึ้นคงต้องยกเครดิตให้กับความพยายามกว่า 2 ปี ที่เราไม่เลิกล้ม และถอดใจไป