1680X726

THAILAND STARTUP ECOSYSTEM REPORT 2021

THAILAND STARTUP ECOSYSTEM REPORT 2021

“รายงานการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย ประจำปี 2564” รายงานฉบับที่ 4 ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ที่ได้จัดทำต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2557 โดยได้รับความร่วมมือจากประชาคมกว่า 300 ราย ทั้งกลุ่มสตาร์ทอัพไทยและต่างชาติ นักลงทุน ภาคการศึกษา ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่นำเสนอข้อมูลภาพรวมภูมิทัศน์ของระบบนิเวศสตาร์ทอัพในปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ให้มีความสามารถในการประกอบธุรกิจรวมถึงแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบนิเวศสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจมากขึ้น
1680X726

WHITE PAPER

WHITE PAPER

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการเสนอนโยบายเกี่ยวกับวิสาหกิจเริ่มต้นแก่ประเทศไทย โดยในรายงานฉบับนี้ได้รวบรวมความคิดเห็นจากสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย (สตาร์ทอัพ) จากบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ทั้งในและต่างประเทศในประเด็นว่าเป้าหมายของประเทศไทยในการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นนั้นควรเป็นอย่างไรและต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมและสนับสนุนในประเด็นใดบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

Downlaod White-Paper 

1680X726

POLICY & STATEGY

WHITE PAPER

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการเสนอนโยบายเกี่ยวกับวิสาหกิจเริ่มต้นแก่ประเทศไทย โดยในรายงานฉบับนี้ได้รวบรวมความคิดเห็นจากสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย (สตาร์ทอัพ) จากบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ทั้งในและต่างประเทศในประเด็นว่าเป้าหมายของประเทศไทยในการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นนั้นควรเป็นอย่างไรและต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมและสนับสนุนในประเด็นใดบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

Downlaod White-Paper 

1680X726

ORGANIZATION

ABOUT US

Startup Thailand เป็นหน่วยงานระดับประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และระบบนิเวศของวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Ecosystem) ตามนโยบายของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee: NSC) โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นให้ใช้ทรัพยากรของประเทศในการผลิตสินค้าและบริการ มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม การจ้างงานในท้องถิ่น และการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค รวมทั้งก่อให้เกิดอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนประเทศ

คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติเกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วยการพัฒนา “วิสาหกิจเริ่มต้น” ให้เป็นนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Warrior: NEW) และกำหนดให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่เปิดสำหรับการเติบโตของอาเซียน โดยได้กำหนดแนวทางส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นของไทย ดังนี้

1.พื้นที่เปิดสำหรับผู้ที่มีทักษะสูงจากทั่วโลก (Open for Talent) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจเริ่มต้นของไทยให้สามารถเติบโตสู่ตลาดโลกได้ ประเทศไทยจำเป็นต้องดึงดูดและพัฒนาบุคลากรที่มีประสบการณ์ ความสามารถ และเข้าใจการพัฒนาธุรกิจในระดับโลก

2.พื้นที่เปิดสำหรับการเร่งการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น (Open for Business Growth) การพัฒนาธุรกิจของวิสาหกิจเริ่มต้นเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการควบคู่กับการพัฒนารูปแบบธุรกิจนวัตกรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial) ตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัยและวิสาหกิจเริ่มต้นทั่วไป ตลอดจนดำเนินการเร่งสร้างและวิสาหกิจเริ่มต้น (Acceleration Program) อย่างเป็นระบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจเริ่มต้นให้พร้อมก้าวสู่เวทีการระดมทุนจากนานาชาติ สามารถขยายฐานกิจการไปยังต่างประเทศได้

3.พื้นที่เปิดสำหรับการลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Open for Investment) ทุกช่วงระยะเวลาการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นจำเป็นต้องระดมทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมตลอดจนขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ซึ่งแต่ละช่วงมีความต้องการเงินทุนแตกต่างกัน ดังนั้นประเทศไทยต้องพัฒนาสิทธิประโยชน์ต่างๆเพื่อนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ นักลงทุนบุคคล บริษัทลงทุนร่วมเสี่ยงทั้งในลักษณะกองทุน และองค์กร ตลอดจนการระดมทุนสาธารณะ อีกทั้งพัฒนานวัตกรรมการเงิน (Financing Innovation) เพื่อสนับสนุนการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้นของประเทศไทยสู่ตลาดโลก

4.พื้นที่เปิดสำหรับการพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น (Open for Ecosystem) เพื่อการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ประเทศไทยต้องดำเนินยุทธศาสตร์ การพัฒนา “เศรษฐกิจนวัตกรรมเชิงพื้นที่” โดยมีการวางแผนและออกแบบพื้นที่และสังคมเมือง เพื่อพัฒนาเมืองหรือย่านให้เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ของผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมและวิสาหกิจเริ่มต้นหรือเรียกว่า ย่านนวัตกรรม (Innovation District) โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือ และกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและผู้ดำเนินกิจกรรมในย่าน เพื่อเชื่อมต่อประชาคม รวมถึงมีกลไกที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ร่วมกัน มีกิจกรรมแบ่งปันความรู้แก่กันของวิสาหกิจเริ่มต้น ชุมชน ธุรกิจ และหน่วยงานในพื้นที่ เร่งดำเนินการให้มีสิทธิประโยชน์เพื่อสนับสนุนภาคส่วนต่างๆในระบบนิเวศของวิสาหกิจเริ่มต้น

1680X726

SITE 2021

SITE 2021​

ปีนี้เตรียมพบกับ ‘DeepTech’ เทคโนโลยีเชิงลึกที่เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงพลิกโฉมประเทศไทย ที่ทุกภาคส่วนกำลังจับตามอง

NIA เดินหน้าต่อยอดงาน Startup x Innovation Thailand Expo 2021 หรืองาน ‘SITE 2021’ ภายใต้แนวคิดการเปล่งประกายแห่งเทคโนโลยีเชิงลึก ‘DeepTech Rising’…The Next Frontier of Innovation

เจาะลึก 5 เทคโนโลยีเชิงลึกที่เข้ามายกระดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ได้แก่

1. ด้านเกษตร (AgTech)
2. ด้านอาหาร (FoodTech)
3. ด้านการแพทย์ (MedTech)
4. ด้านอวกาศ (SpaceTech)
5. ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนสําหรับบุคคล (AI Robotic Immersive IoT: ARI Tech)

15 – 18 กันยายน 2564 นี้ จัดขึ้นในรูปแบบ Virtual Event

โปรดติดตามรายละเอียดงานเพิ่มเติมได้เร็วๆ นี้

SITE22- Banner & FB Cover

SITE 2022

SITE 2022

งาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2022 (SITE 2022) ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Reconnecting the World เชื่อมเรา เชื่อมโลก กลับมาเจอกัน” แม้ว่าทุกประเทศทั่วโลกกำลังอยู่ในสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ตาม แต่ทุกประเทศไม่สามารถที่จะหยุดเดินหน้าต่อไปได้

ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเมืองหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง ซึ่งการเปิดเมืองจะเป็นการเชื่อมโลกและประเทศไทยกลับมาด้วยกัน เพื่อให้ทั่วโลกรับรู้ว่า ประเทศไทยมีเมืองนวัตกรรม (Innovation City) ซึ่งมีจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ และพร้อมที่จะเชื่อมต่อกับเมืองนวัตกรรมจากทั่วโลกเพื่อฟื้นฟูให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันได้ต่อไป

งาน SITE 2022 จัดขึ้นในรูปแบบผสมผสานที่สามารถเข้าร่วมงานได้ทั้งทางออนไลน์ในรูปแบบจักรวาลนฤมิต (Metaverse) และทางออฟไลน์โดยสามารถเข้ามาร่วมงานจริงได้ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในวันที่ 23-25 มิถุนายน 2565 ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 ด้าน ได้แก่ FORUM, OPPORTUNITY, SHOW, AWARD

  • Metaverse Experience : มิติใหม่ของการจัดงานรูปแบบจักรวาลนฤมิตที่รวบรวมหลากหลายกิจกรรมครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการเข้าร่วมงานผ่านอวาตาร์ (Avatar) ที่จะเป็นตัวแทนของแต่ละคนในการเข้าร่วมงานในโลกจักรวาลนฤมิต
  • Avatar Real-time Connection : มิติใหม่ของการติดต่อเชื่อมโยงกับประชาคมสตาร์ทอัพและนวัตกรรมของไทย สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานทุกภาคส่วนและวิทยากรชั้นนำจากทั่วโลกที่เข้าร่วมงาน ผ่านอวาตาร์ของแต่ละคนได้แบบทันที
  • Real Opportunity : มิติใหม่ของการสร้างโอกาสสำคัญในการหาพันธมิตรทางธุรกิจในแวดวงสตาร์ทอัพและนวัตกรรม ผ่าน Metaverse Marketplace และการให้คำปรึกษาทางธุรกิจสำหรับผู้สนใจเป็นวิสาหกิจเริ่มต้นและสร้างธุรกิจนวัตกรรม

ดูรายละเอียดงานเพิ่มเติมได้ที่ https://site.nia.or.th

และลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานได้ทางเพจ https://site.nia.or.th/register/